วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

                                  กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย จุดเริ่มกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย เริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 "คณะกรรมการเทคโนโลยีีีีสารสนเทศแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า "กทสช" กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ 1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีการวางนดยบายและกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทางการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ 2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคลโดยคำนึงถึงความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี 3. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อรองรับแนวนโยบายพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนและการกระจายสารสนเทศให้เท่าเทียมกันและทั่วถึงทั้งประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ 4.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล เพื่อวางหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคล เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ กำหนดสิทธิให้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลที่อาจถูกนำไปประมวลผลเผยแพร่ในทางมิชอบซึ่งจะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ 5.กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในยุคคอมพิวเตอร์ เป้นการกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดต่อระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล ระบบเครือข่าย 6.กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคลฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


 
                 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย

ปัจจุบัน พัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายทั่วโลก แต่ถ้าหากนำไปใช้ในทางมิชอบก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่าง รุนแรงซึ่งอาจประเมินค่ามิได้ หรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่ประชาคมโลก และได้เกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็น เครื่องมือในการกระทำความผิด หลายด้านเช่น หยุดการทำงาน (Interruption) ลักลอบข้อมูล (Interception) แก้ไขข้อมูล (Modification) และ สร้างข้อมูลปลอม (Fabrication) บนระบบเครือข่าย และการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมไปถึงการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ว่าทางใดก็ตาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)” หรือที่บางประเทศเรียกว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ(Computer Misuse Law)” ขึ้น หรือต้องมีการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัย เข้ากับการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบขึ้นให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเทศต่างๆ ที่พัฒนาและออกกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลเซีย และ Council of Europe ได้ออก Convention on Cyber-Crime เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆใช้กฎหมายบังคับในทิศทางเดียวกัน

สำหรับในประเทศ ไทย กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาร่างกฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับ โดยสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ไอที 2000) เพื่อพัฒนาสังคมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบายดังกล่าว คือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และให้คณะกรรม-การฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็น เลขานุการคณะกรรมการฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้ดำเนิน โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า “กฎหมายแลกเปลี่ยน ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ต่อมาได้มีการรวมหลักการเข้ากับกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และรวมเรียกชื่อเดียวว่า “กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน (เดิมเรียกว่า “กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78”) กฎหมายเกี่ยวกับการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อนึ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของโครงการพัฒนากฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการยกร่าง กฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับข้างต้น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เฉพาะกิจขึ้นมา 6 ชุด ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก สาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การเงินการธนาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ใน การพิจารณายกร่างกฎหมายโดยมี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นเลขานุการในการยก ร่างกฎหมาย